วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

สมอง



สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย
สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการ
การเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้


สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะทำงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์








ส่วนประกอบของสมอง


สมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้


1.สมองส่วนหน้า (Forebrain) - มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้



-ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก


-ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุม
การเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์



-Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น



-Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น



-Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส



-ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด



-ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ









2.สมองส่วนกลาง (Midbrain) - เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน









3.สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย



-พอนส์ (Pons) - เป็นส่วนของก้านสมอง ติดกับสมองส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และเป็นที่อยู่ของประสาทคู่ที่ 5,6,7,8


-เมดัลลา (Medulla) - เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น


-ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย





















































ดูเพิ่มเติมได้ที่


โรคสมองฝ่อ(อัลไซเมอร์)


1.โรคสมองฝ่อ

การทำงานของสมองคนปกติ:สมองมนุษย์มีเซลล์ที่พัฒนามาอย่างวิเศษ เรียกว่า เซลล์ประสาท (neurons) ประมาณ 140,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีกิ่งก้านสาขาเชื่อมติดกับเซลล์ประสาทอื่นๆ ถึง 15,000 จุดเชื่อมต่อ ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีความสลับซับซ้อนกว่าคอมพิวเตอร์ที่ว่ายุ่งยากสุดๆ แล้วเสียอีก เซลล์ประสาทจะสร้างสัญญาณไฟฟ้า และสารเคมีเพื่อส่งสัญญาณข้อมูลต่อจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังอีกเซลล์ประสาทหนึ่งทั่วสมอง และระบบประสาท นอกจากนี้เซลล์ประสาทยังสร้างสารเคมีพิเศษ (neurotransmitter) ซึ่งเอื้ออำนวย ต่อการส่งสัญญาณประสาทโดยสารนี้จะไหลออกไปช่วยเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท 2 ตัว







ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์มีพยาธิสภาพที่มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อสมองโดยตรงทำให้การทำงานของสมองเสื่อมลง ตามลำดับตั้งแต่ย่างเข้าวัยกลางคนหรือหลังจากนั้น ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่โรคนี้ได้คาดว่าจะเป็นเรื่องผสมผสานกัน หลายปัจจัย ทำนองโรคซ้ำกรรมซัดได้แก่
-อายุ : โรคอัลไซเมอร์มักจะเป็นกับคนอายุสูงกว่า 65 ปี แต่ในบางราย (แม้จะพบน้อยมาก) อาจเริ่มต้นตั้งแต่อายุ 40 ปี ส่วนอายุเฉลี่ยขณะที่วินิจฉัยโรคนี้ได้มักจะอยู่ที่ประมาณ 80 ปี
ดังนั้นคน 100 คนที่มีอายุเพียง 65 ปี จะมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ 1-2 คน (1-2 คนต่อ 100 คน) แต่ถ้าอายุ 80 ปีแล้วจะมีโอกาสเพิ่มเป็น 1 ใน 5 และที่อายุ 90 ปีจะเป็นครึ่งต่อครึ่งเลย
-เชื้อชาติ : อุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์จะพอๆ กันในทุกเชื้อชาติ โดยผู้หญิงจะเป็นมากกว่าผู้ชาย ส่วนหนึ่งเพราะพวกเธออายุยืนกว่า
-พันธุกรรม : ประวัติครอบครัวจะมีบทบาทดังจะเห็นได้ในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ ในวัยที่ไม่แก่มากจะพบว่าราว 40% จะมีประวัติว่ามีสมาชิกของครอบครัวเป็นโรคนี้ด้วย ในคนที่พ่อแม่ หรือพี่น้องเป็นโรคนี้จะทำให้คนนั้นเป็นโรคนี้ง่ายขึ้น แต่บางครอบครัวก็แปลกมีคนเป็นอัลไซเมอร์ตั้งหลายคน แต่สมาชิกส่วนใหญ่กลับไม่เป็นเสียที แสดงว่าการจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ต้องมีปัจจัยหรือกระบวนการอื่นๆ มาเกี่ยวข้องด้วย
-สิ่งแวดล้อม : นักวิจัยกำลังศึกษาปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเพื่อหาสาเหตุและแนวทางป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ยกตัวอย่างเช่นคนเป็นโรคอัลไซเมอร์บางคนจะมีธาตุอลูมิเนียมกระจุกรวมตัวอยู่ในสมองบางจุด แต่นักวิจัยยังไม่พบเบาะแสว่าอลูมิเนียมเหล่านี้มาจากยาลดกรด สารทากันกลิ่นตัว ภาชนะหุงต้มหรือแม้ในน้ำดื่ม
ขณะเดียวกันนักวิจัยเริ่มพบว่าฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน ยาต้านการอักเสบที่ไม่เข้าสารสเตียรอยด์ (NSACD) วิตามินอี และปัจจัยอื่นๆ อาจมีผลปกป้องไม่ให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ แต่ขอให้รองานวิจัยคืบหน้าต่อไปอีกหน่อย จึงจะนำมาสรุปว่าจริงแท้แค่ไหน ?



พยาธิสภาพของโรคอัลไซเมอร์
ขณะนี้นักวิจัยรู้แล้วว่าในคนเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นเซลล์ประสาทจะเสื่อมสภาพลง จนไม่สามารถสื่อความกับเซลล์อื่นๆ แล้วในที่สุดก็ฝ่อตายไป เมื่อเป็นหลายๆ เซลล์เข้าก็ทำให้สมองสูญเสีย ความสามารถในการทำงาน โรคนี้จึงมีผู้เรียกให้เข้าใจง่ายๆ ว่า "โรคสมองฝ่อ"
สิ่งที่ยังไม่พบคือ ทำไมเซลล์ประสาทจึงเสื่อมสภาพลง (degenerate) ? นักวิจัยจึงมุ่งหาสาเหตุ โดยดูที่โครงสร้างของเส้นประสาทในคนป่วยแล้วค่อยๆ หาทางแก้ไข
ขณะนี้นักวิจัยพอรู้แล้วว่าในสมองของคนเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นมีการเปลี่ยนแปลง จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า "เพลค" (plaque) และเส้นใยประสาทพันกัน (tangles) โดยเกิดขึ้นในช่องระหว่างเซลล์ประสาท
การเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาทแล้วฝ่อตายไปนั้นเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากมนุษย์เรา ไม่สามารถสร้างเซลล์ประสาทมาชดเชยได้
สิ่งที่ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพคือ สารเคมีพิเศษที่เชื่อมเซลล์ประสาทเข้าด้วยกัน เพราะตรวจหาสารเคมีนี้ลดลงในคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ แต่ที่ยังไม่ทราบแน่คือไม่รู้ว่า สารเคมีลดลงแล้วเซลล์ประสาทเสื่อมหรือเป็นโรคก่อนแล้วสารเคมีจึงลดลง




การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์
วิธีที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอัลไซเมอร์อย่างแน่นอนที่สุดก็คือ โดยการตัดเนื้อเยื่อสมองมาตรวจดู ด้วยกล้องจุลทรรศน์ แต่เป็นเรื่องเสี่ยงอันตรายมาก จึงไม่ค่อยกล้าทำกัน ดังนั้นหมอจะใช้วิธีวินิจฉัย โดยอาศัยข้อมูลต่างๆ มาประกอบคือ
-ประวัติการเจ็บป่วย
-ตรวจร่างกาย
-การตรวจสติปัญญา
-ตรวจอื่นๆ ที่ช่วยตัดประเด็นอาการหลงลืมเนื่องจากโรคอื่นๆ

วิธีนี้แม้จะได้การวินิจฉัยแม่นยำถึง 90% แต่นักวิจัยก็ยังแสวงหาวิธีที่ดีขึ้นโดยมุ่ง 2 ทางคือ
1. การตรวจหาสิ่งที่ช่วยบอกว่าเป็นโรคนี้ (biologic marker) โดยอาจเป็นสารเคมีเช่น โปรตีนพิเศษบางอย่าง
2. การถ่ายภาพวิธีใหม่ๆ เช่น ใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ใช้สารโพสิตรอน (positron emission tomography หรือ PET) หรือคอมพิวเตอร์เอกซเรย์พิเศษชื่อ single photon emission computed tomography (SPECT) ซึ่งจะช่วยให้หมอเห็นปฏิสัมพันธ์ของสารเคมีในสมองที่เกิดขึ้นในเซลล์


การรักษาโรคอัลไซเมอร์
การรักษาหลักๆ ยังคงใช้ยาควบคุมอาการร่วมกับการบริบาลโดยอาศัยหลักที่ว่าคนเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะมีปัญหาด้านบุคลิกภาพและปัจจัยกดดันทางสิ่งแวดล้อมที่ทำให้แต่ละคนมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป จึงจัดยามาบำบัดความผิดปกติของพฤติกรรมและช่วยทำให้สติปัญญาดีขึ้น
- การบำบัดพฤติกรรม เนื่องจากคนไข้มีอาการซึมเศร้า หงุดหงิดและวิตกกังวล จึงทำให้ผู้ดูแลทั้งหลายเป็นห่วงเป็นใยซึ่งนักวิทยาศาสตร์ของเซลล์ประสาทเป็นกิจการทำให้สมดุล ของสารเคมีพิเศษในสมองเสียไป พฤติกรรมของคนไข้จึงเปลี่ยนไป วิธีแก้ไขคือให้ยาบำบัด ขณะซึมเศร้าและยาเพิ่มสารเคมีพิเศษในสมองเพื่อลดความซึมเศร้า

- การเสริมสร้างสติปัญญา ยาชื่อ TACRINE ได้รับอนุมัติให้ใช้บำบัดคนไข้โรคอัลไซเมอร์ เมื่อปี 2536 และขณะนี้มียาใหม่ที่อยู่ในระหว่างการทดลองโดยมีหลักการชะลอการสูญเสีย สมรรถภาพของสมองจากการลดการสลายตัวตามธรรมชาติของสารอเซทิล โคลีน (acetyl choline) อย่างไรก็ตาม ยานี้ยังแก้ไขไม่ตรงจุดเสียทีเดียว คือไม่ได้แก้การเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท



การอยู่กับผู้ป่วยอัลไซเมอร์
หัวใจของการรักษาคนไข้โรคอัลไซเมอร์คือ "การบริบาล" (caregiving) ยิ่งถ้าวินิจฉัยโรคได้เร็ว ก็จะยิ่งช่วยในการวางแผนการรักษาได้ดีขึ้นแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิกของครอบครัว ที่จะมาช่วยกันดูแลรักษาคนไข้จะได้เรียนรู้โรค เตรียมตัวเตรียมใจไว้รับสถานการณ์และปัญหาข้อสำคัญที่สุด คือการเตรียมใจรับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของคนไข้ที่จะเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเหมือนมีน้ำขึ้นน้ำลง แถมยาวนานเป็นพิเศษเพราะโรคดำเนินไปอย่างช้าๆ คนไข้มีอาการเลวลงอย่างช้าๆ โดยใช้เวลานับ 10 ปีขึ้นไป ตอนแรกๆ ที่อาการขี้ลืมไม่มากก็ยังสามารถอยู่ตัวคนเดียวอย่างอิสระได้ แต่พออาการหลงลืมเพิ่มความรุนแรงขึ้น ก็จะไม่สามารถอยู่แต่ลำพังได้ แต่งเนื้อแต่งตัวเองก็แทบจะไม่ได้ บางครั้งอาจติดเตารีดไว้แล้วลืมปิดสวิตซ์ ไม่รู้วันรู้เวลาหรือพลัดหลงเวลาออกนอกบ้าน
เมื่ออาการมากขึ้นอย่างนี้จึงจำเป็นต้องมีคนอยู่ดูแลเป็นเพื่อนตลอดเวลา คนไข้เริ่มจำเหตุการณ์ ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้ ทำงานง่ายๆ ไม่ได้ แม้แต่การรัดเข็มขัดตัวเอง นึกคำพูดไม่ออก หรือพูดคำต่างๆ ที่ไม่เกี่ยวพันกันจนเกิดเป็นประโยคไร้ความหมาย
ในที่สุดระบบประสาทที่เสื่อมสลายไปก็มผลกับทุกส่วนของร่างกายจนคนไข้ตกอยู่ในสภาพไร้ความสามารถ แม้แต่จะกินเองก็ทำไม่ได้ คนไข้จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวมหรือการติดเชื้อ
การบริบาลจึงขึ้นอยู่กับการเน้นให้มุ่งดูว่าคนไข้ยังพอทำอะไรได้บ้างและพอใจไปกับสิ่งที่เกิดขึ้น เรียนรู้วิธีการลดผลกระทบที่มีต่อพฤติกรรมและการไร้สมรรถภาพที่เกิดขึ้นเช่น

1. ใช้เครื่องช่วยกระตุ้นความจำ เช่น เขียนรายการกิจกรรมประจำวันไว้เตือนความจำ จดหมายเลขโทรศัพท์ให้ทราบว่าผู้ดูแลจะอยู่ที่ไหน สั่งหรือสอนวิธีการทำงานง่ายๆ เช่น การสวมเสื้อผ้า ซึ่งบ่อยครั้งคนไข้โรคอัลไซเมอร์จะทำงานได้สำเร็จถ้ามีการสอนให้ทำเป็นขั้นเป็นตอน ลิ้นชักตู้เสื้อผ้า อาจเขียนฉลากปิดไว้ว่าภายในบรรจุอะไรอยู่

2. จัดหาโครงสร้าง บรรยากาศแวดล้อมในบ้านควรเงียบสงบและสร้างความรู้สึกมั่นคง เพื่อช่วยลดปัญหาด้านพฤติกรรม สถานการณ์ที่เกิดขึ้นใหม่ เสียง คนผ่านไปมามากๆ การเร่งรีบ หรือการรุกเร้าขอคำตอบล้วนสร้างความวิตกกังวลให้แก่ผู้ป่วย
ผู้ดูแลบริบาล จะต้องใจเย็นๆ ในเมื่อคนป่วยคิดอะไรไม่ออก การจะอธิบายถกเถียงหรือรัดตรึงคนไข้ไว้ จะยิ่งก่อให้เกิดความตกตะลึง ทางที่ดีควรจะพูดด้วยท่าทีปลอบประโลม มีการประคองหรือกุมมือผู้ป่วยไว้ เพื่อให้ความมั่นใจหรือใช้มือเคาะเบาๆ

3. ลดการเดินเพ่นพ่าน ปัญหาที่พบบ่อยในคนเป็นโรคอัลไซเมอร์คือการเดินเพ่นพ่านแล้วหลงทาง ครั้งพอเราหาเจอคนไข้ก็อาจมีปฏิกิริยาหวาดกลัวหรือไม่พอใจและอาจต่อต้านการช่วยเหลือ
ในบางรายอาจแก้ง่ายๆ โดยหย่อนบัตรบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ใส่กระเป๋าเสื้อไว้โดยอาจเขียนเตือนว่า "ให้โทรศัพท์กลับบ้าน" พร้อมทั้งให้หมายเลขโทรศัพท์ไว้ด้วย

4. สร้างกิจกรรมที่จำเพาะขึ้นในยามค่ำคืน เนื่องจากพฤติกรรมของคนไข้อัลไซเมอร์ มักจะเลวลงตอนกลางคืน เช่น เดินเพ่นพ่านออกจากบ้าน แต่งตัวเพื่อพยายามจะออกจากบ้าน จึงอาจแก้ด้วยการสร้างกิจกรรมประจำวันที่ช่วยให้สงบเสงี่ยมลง งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ลดปริมาณเครื่องดื่มอื่นๆ หลีกเลี่ยงการนอนงีบตอนกลางวัน บริหารร่างกายตอนกลางวันเพื่อช่วยให้สงบตอนกลางคืน

5. สร้างเสริมการสื่อสาร คนที่มีอาการหลงลืมอาจมีความยากลำบากในการทำความเข้าใจกับสิ่งที่ได้ยิน หรือในการพูดอะไรออกมา การเสริมสร้างการสื่อสารจึงควรเริ่มด้วยการยื่นให้เห็นชัดๆ และจับแขน หรือไหล่ผู้ป่วยไว้เพื่อดึงดูดความสนใจ พูดด้วยซ้ำๆ ด้วยประโยคง่ายๆ โดยไม่เข้าเร่งรัดคำตอบ ให้ความเห็นหรือคำสั่งครั้งละเรื่องเดียว ใช้กิริยาท่าทางประกอบเช่นชี้ไปที่วัตถุที่อ้างอิงถึง หลีกเลี่ยงการถามคำถามหรือเสนอทางเลือกยากๆ เพราะการแสวงหาคำตอบอาจทำให้ผู้ป่วยยิ่งอัดอั้นใจมากขึ้น

6. สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย อย่าจัดตั้งวางเฟอร์นิเจอร์ให้เกาะเป็นกลุ่ม เลือกสีที่ให้ความสงบทางใจ การปูพรมจะช่วยดูดซับเสียง สิ่งของหรือยาควรบรรจุไว้ในตู้ที่ใส่กุญแจ หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าในห้องน้ำ ตั้งอุณหภูมิน้ำอุ่นไว้ไม่ให้ร้อนจนลวกผิวหนัง
ใครก็ตามที่เคยดูและบริบาลคนไข้โรคอัลไซเมอร์จะซาบซึ้งถึงสัจธรรมที่ว่าผู้ดูแลก็มีส่วนรับกรรมหนัก ไม่แพ้คนไข้ หลายคนต้องกลายเป็นผู้ดูแลพยาบาลเต็มตัวโดยไม่มีเวลาทำงานอื่น ชีวิตส่วนตัวแทบหมดสิ้น
ทางออกคือสังคมหรือชุมชนที่มีคนไข้โรคอัลไซเมอร์รวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือเจือจานกัน มีกิจกรรมร่วมกัน หรือไม่ก็จัดตั้งสถานสงเคราะห์ให้ผู้ป่วยอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงท้ายๆ ของชีวิต อีกทั้งวางแผนไว้ล่วงหน้าเลยว่าหากมีเหตุการณ์ที่ทำให้คนไข้ช่วงท้ายๆ ทรุดลงแล้ว น่าจะมีการกำหนดนโยบายเชิงสั่งเสียว่าอย่าได้ระดับมาตรการกู้ชีพที่เกินความจำเป็นหรือโดยใช่เหตุ
อัลไซเมอร์นั้นเป็นโรคภัยไข้เจ็บที่ดูเหมือนการลงโทษทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลรักษา ถึงกระนั้นก็คงจะต้องทำใจ แล้วร่วมมือร่วมใจกันดูแลพยาบาลตามหน้าที่ ที่พึงมีของทุกฝ่าย อีกทั้งหวังว่าใน 1 ทศวรรษจากนี้ไป โลกจะมีแนวทางใหม่ๆ ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ดีขึ้น

ส่วนประกอบของสมอง


สมอง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำ การคิด และความรู้สึกต่างๆ สมอง ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามวิวัฒนาการของสมอง


· สมอง ส่วนแรก อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่ามาจาก สัตว์เลื้อยคลาน หรือ สมอง สัตว์ชั้นต่ำมีหน้าที่ ขั้นพื้นฐาน ที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทําหน้าที่ เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัส และสั่งงานให้ กล้ามเนื้อ มีการเคลื่อนไหว สมอง ส่วนนี้ยังรับ และเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ การเรียนรู้ จาก สมอง หรือ ระบบประสาท ส่วนถัดไป และทําให้เกิดเป็น ระบบตอบโต้อัตโนมัติ ขึ้นทําให้เรามี ปฏิกิริยาอย่างง่ายๆ ปราศจาก อารมณ์ ปราศจาก เหตุผล


· สมอง ส่วนที่สองเรียกว่า ลิมบิกเบรน (Limbic brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) คือ สมอง ของ สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม สมัยเก่า ก็คือ สมอง ส่วน ฮิปโปแคมปัส เทมโพราลโลบ และบางส่วนของ ฟรอนทอลโลบซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับ ความจำ การเรียนรู้ พฤติกรรม ความสุข อารมณ์ขั้นพื้นฐาน ความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ หรือ มีความสุข เศร้า หรือ สนุกสนาน รัก หรือเกลียด สมอง ส่วนลิมบิก จะทําให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้โลกได้ กว้างขึ้น เป็นสมอง ส่วนที่สลับซับซ้อน มากขึ้น


· สมองส่วนที่สามเรียกว่า นิวแมมมาเลียนเบรน (New Mammalian brain) หรือสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ คือสมองใหญ่ ทั้งหมดทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ สติสัมปชัญญะ และรายละเอียดที่สลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่ กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้เป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับ ความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคํานวณ ความรู้สึก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หา เป็นสมองส่วนที่ทำให้มนษุย์รู้จูกคิด หาหนทางเอาชนะธรรมชาติ หรือควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้
โครงสร้างสมอง 3 ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา ก็คือระบบประสาทสำคัญที่ได้วิวัฒนาการมาจากยุคดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่ง ที่ได้รับ มาจากบรรพบุรุษ และเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถประสบความสำเร็จในชีวิต สมองเรา ยังมีความสามารถ ที่ยังไม่ได้พัฒนา หรือยังมีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้อีกมาก ประสบการณ์ หรือการกระทำของเรารวมถึงความรู้สึก นึกคิด พฤติกรรม กิจกรรม ทั้งหลาย การหลับ การตื่น ความฝัน ล้วนขึ้นอยู่กับสมองทั้ง 3 ส่วนนี้ทั้งสิ้น ระบบสมอง 3 ส่วนนี้แสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติสามารถ สร้าง โครงสร้างใหม่ และโครงสร้างที่สลับซับซ้อนขึ้นบนพื้นฐานของ โครงสร้างเก่า ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเซลล์ง่าย ๆ ที่ได้ผสมผสานตัวเองเข้าไป ในสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ เป็นการเปลี่ยน หรือวิวัฒนาการจากสัตว์เซลล์เดียวเป็นสัตว์หลายเซลล์

การทำงานของสมอง

การทำงานของสมอง

1.ประสาทรับความรู้สึก เส้นประสาทต่าง ๆ ที่นำความรู้สึกเหล่านี้จะมีขนาดแตกต่างกันด้วย ความรู้สึก สัมผัสเบา ๆ จะนำโดยเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่มีไขมันห่อหุ้มมาก ในขณะที่ความรู้สึกเจ็บปวดนำโดย เส้นประสาทขนาดเล็ก ที่มีไขมันห่อหุ้มน้อย หรือไม่มีเลย ผิวหนังของคนเราจะมีประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ และนำส่งต่อไปยังเส้นประสาทผ่าน ไขสันหลัง ขึ้นไปยังก้านสมอง และขึ้นไปถึงสมองส่วนใหม่ หรือนีโอคอร์เท็กซ์ ส่วนที่เรียกว่า พารายทอลโลบ สมองข้างซ้ายจะรับความรู้สึก จากร่างกาย และใบหน้าทางซีกขวา ขณะที่สมองข้างขวาจะรับความรู้สึกจากร่างกาย และใบหน้าทางซีกซ้าย ในสมองคนเราจะมีแผนที่ว่า ส่วนใดของสมองจะรับความรู้สึกจากส่วนใดของร่างกาย

เส้นประสาทของสมอง



















2.การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การควบคุมการทำงานพื้นฐานของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ในเด็กแรกคลอด จะเป็นไปอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ เด็กอายุ 1-2 เดือนจะไม่ ไขว่คว้าของเล่น แต่ก็มีการเคลื่อนไหวของแขน ขา มือ และ เท้า ซึ่งสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์คอร์เท็กซ์ สมองส่วนทาลามัส และ สมองส่วนเบซาลแกงเกลีย ที่มีเส้นใยประสาท และไขมันค่อนข้างครบถ้วน เมื่อแรกคลอดจะทำหน้าที่พื้นฐานนี้

3.การมองเห็น สมองจะต้องอาศัยการมองเห็นภาพ ซึ่งจะนำไปสู่สมอง ด้วยเส้นประสาทตา และหลังจากนั้นสมองส่วนของการมองเห็น หรือ ออกซิปิทอลโลบ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของสมอง จะพัฒนาโครงสร้าง ที่จะตอบรับภาพ และแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย โดยอาศัย นีโอคอร์เท็กซ์ และสมองส่วนหน้า การมองเห็นเป็นการทำงานที่ละเอียดอ่อน จะเห็นว่าประสาทตามีเส้นใยประสาท 1 ล้านเส้นใย เทียบกับประสาทหู ซึ่งมีเส้นใยประสาทเพียง 50,000 เส้นใยเท่านั้น

4.การได้ยิน สมองส่วนลิมบิกเบรน หรือสมองส่วนอารมณ์ สามารถจะตอบสนองต่อคลื่นเสียงต่าง ๆ ที่เข้ามาถึงตัวเรา ด้วยการอาศัยความช่วยเหลือ จากนีโอคอร์เท็กซ์ หรือสมองส่วนใหม่แปลคลื่นเสียงออกมาโดยตรงสมองส่วนลิมบิกเบรน หรือสมองส่วนอารมณ์กับสมองส่วนอาร์เบรน มีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิด สมองส่วนลิมบิกเบรน จะรับรายงาน จากสมองส่วนอาร์เบรน ขณะเดียวกันก็ส่งข้อมูลไปที่นีโอคอร์เท็กซ์ด้วย ผลลัพท์ของการติดต่อระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ นี้จะส่งไปที่ประสาท รับการได้ยิน และการทรงตัวที่หูส่วนใน ซึ่งทำให้บอกได้ว่าเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยินมาจากที่ใด การได้ยินนี้เปรียบได้กับ การเห็น สายตาเรา จะส่งรูปภาพเข้าไปในสมอง แล้วสมองก็จะใส่ข้อมูลลงไปตามช่องว่าง และส่งข้อมูลกลับออกมา ทำให้เรามองเห็นภาพครบบริบูรณ์


5.สมองกับความฉลาด เชื่อกันว่า สมองส่วนใหม่ ที่เรียกว่า นีโอคอร์เท็กซ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความฉลาด และความคิด ความคิดริเริ่ม หรือความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ หรือศิลปินแบบนี้ เปรียบได้กับเด็กปัญญาอ่อนแต่มีความสามารถพิเศษ คือ อยู่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์ หรือคำตอบก็ออกมาเอง โดยมีความแตกต่างอยู่ที่ว่า ความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์จะดำเนินต่อไปได้ ในขณะที่เด็กปัญญาอ่อนแต่มีความสามารถพิเศษ เพียงแค่รู้คำตอบแต่ไม่สามารถจะทำอะไรได้มากไปกว่านั้น


6.ความจำ เซลล์ประสาท 1 เซลล์ สามารถที่จะมีความจำเฉพาะเจาะจงได้ เซลล์ประสาทนี้เป็นเซลล์ที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง หรือ ทาร์เก็ตเซลล์ (target cell) แล้วเซลล์ประสาทนี้เองเป็นจุดรวมของกลุ่มของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์รวมกัน ทำงาน เพื่อที่จะสร้างความจำขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งทาร์เก็ต เซลล์ และกลุ่มของเซลล์ประสาทนี้ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่ใหญ่ต่อไปอีก และแต่ละเครือข่ายก็จะมีปฏิกิริยาซึ่งกัน และกัน กลุ่มของเซลล์ประสาทกลุ่มนี้จะติดต่อกับเซลล์ประสาทกลุ่มอื่น มีเส้นใยประสาทที่ติดต่อถึงกันอย่างสลับซับซ้อน ซึ่งผลลัพท์ของการเชื่อมโยง ของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์นี้เองทำให้มีประจุไฟฟ้าสูงสุดในกลุ่มของเซลล์ประสาท (Peak Of Activity In Population Of Neuron) และผลก็คือ เกิดความจำ


7.การเรียนรู้ภาษา ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ กล้ามเนื้อของเรามีการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อเสียงแบบอัตโนมัติ ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งแต่เป็นทารก ในครรภ์อายุประมาณ 7 เดือน และหลังคลอดสมองก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที เพราะเส้นใยประสาท และระบบประสาท ทั้งหลายมีพร้อมอยู่แล้ว ต้องการเพียงแค่สิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ก็จะเกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น ต่อคำถามว่า เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ได้อย่างไร ก็ต้องรู้ว่าสมองเกี่ยวกับ การพูดทำงานอย่างไร การพูดของคนเราเกิดจากการทำงาน ของกลุ่มเซลล์ประสาท ที่ติดต่อถึงกัน เพื่อสร้างคำพูดขึ้นมา ซึ่งแต่ละคำอาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับคำอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นในกลุ่มเซลล์ประสาทที่สร้างคำพูดนี้ ยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อที่จะใช้เรียกคำแต่ละคำ สิ่งของแต่ละสิ่ง


8.การสร้างบุคลิกภาพ ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง อารมณ์ และความสามารถในการรู้ตัวเอง (Self Awareness) ถือเป็นความฉลาด อย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะรู้ตัวเอง หรือรู้พฤติกรรมของเราเองได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรามองตัวเราอย่างไร เมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะควบคุมพฤติกรรมของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถที่จะจัดการ และควบคุมชีวิตเรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Self Efficacy) คนที่มีประสิทธิภาพส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจในการมี พฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำจะมีความกระวนกระวาย มีความกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น ความรู้ตัว และประสิทธิภาพส่วนตัวนี้เองจะรวมกันเป็นบุคลิกภาพขึ้น


9.ระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วย ประสาท 2 ส่วน ที่เรียกว่า ซิมพาเทติก (Sympathetic) และ พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคุมการทำงาน ของเส้นเลือด ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ ม่านตา การไหลของ เหงื่อ น้ำตา และน้ำลาย การเคลื่อนไหวของลำไส้ การควบคุมกระเพาะปัสสาวะ และความผิดปกติทางเพศ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำงานโดยผ่านการหลั่งสารเคมีที่สำคัญ คือ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) และ นอเอพิเนฟริน (Norepinephrine)


ประสาทส่วนรับความรู้สึกต่างๆของสมอง

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แบบทดสอบ

1.สมองส่วนอาร์เบรนมีหน้าที่ขั้นพื้นฐานคืออะไร
1.ควบคุมการเต้นของหัวใจ
2.เก็บข้อมูลการเรียนรู้พื้นฐาน
3.เป็นตัวแสดงอารทณ์ความรู้สึก
4.แสดงการเกิดระบบการตอบสนองอัติโนมัติอย่างง่าย
ข้อใดถูกต้อง
ก. 1 2 4 ข. 1 2 3 4
ค. 2 3 4 ง. 1 2 3

2.การมองเห็น จำเป็นต้องใช้สมองส่วนใดในการช่วยแสดงภาพ และส่วนนั้นอยู่ตำแหน่งใด
ก.ส่วนลิมบิกเบรน อยู่ทางด้านหน้าของสมอง
ข.ส่วนออกซิปิทอล อยู่ทางด้านหลังของสมอง
ค.ส่วนลิมบิกเบรย อยู่ทางด้านหลังของสมอง
ง.ส่วนออกซิปิทอล อยู่ทางด้านหน้าของสมอง

3.ความฉลาดของมนุษย์อาจเปรียบได้กับนักวิทยาศาสตร์ และเด็กปัญญาอ่อน ที่มีความคิสร้างสรรค์ แต่คนทั้ง2กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไร
ก.นักวิทยาศาสตร์ มีความคิดที่ริเริ่มกว่าเด็กปัญญาอ่อนซึ่งไม่มีความคิดริเริ่มในการทำสิ่งต่างๆ
ข.นักวิทยาศาสตร์ ทีการฝึกฝนสมองอยู่เสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กปัญญาอ่อนไม่มีและไม่สามารถทำได้เพราะความผิดปกติทางสมอง
ค.นักวิทยาศาสตร์มีความคิดริเริ่มและสามารถสานต่อความคิดของตนได้ แต่เด็กปัญญาอ่อนมีความคิดริเริ่มแต่ไม่สามารถสานต่อความคิดของตนได้
ง.นักวิทยาศาสตร์และเด็กปัญญาอ่อนเป็นกลุ่มคนพวกเดียวกัน แต่แค่มีความแตกต่างทางด้านความคิด

4.การสร้างบุคลิกภาพถือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และและความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ถือเป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับสมองอย่างไร เพราะเหตุใด
ก.ความจำ เพราะการจดจำลักษณะการกระทำเป็นการสร้างบุคลิกภาพให้ตัวเอง
ข.ความฉลาด เพราะการเรียนรู้และอารมณ์ต้องใช้ความฉลาดในการควบคุมเพื่อรวบรวมเป็นบุคลิกภาพ ซึ่งบุคลิกภาพของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่ที่ความฉลาดด้วย
ค.ประสาทรับความรู้สึก เพราะอารมณ์ส่งผลให้เกิดเป็นความรู้สึกต่างๆ มีผลตรงถึงการเรียนรู้ต่างๆด้วย
ง.การมองเห็น เพราะการมองเห็นเป็นพื้นฐานแรกของการเรียนรู้ คนเราจะเรียนรู้อะไรต้องเกิดมาจากการมองเห็นก่อน แล้วจึงส่งผลต่อไปทางอารมณ์

5.การตอบสนองในข้อใดที่ไม่ถือเป็นการตอบสมองแบบอัตโนมัติของสมอง
ก.เราหลับตาโดยอัติโนมัติเมื่อมีแสงเข้าตา
ข.อาการสะดุ้งตื่นในตอนกลางคืนขณะที่หลับ
ค.เมื่ออากาศเย็นลง ร่างกายปรับอุณภมิทำให้ขนลุกชัน
ง.มีสุนัขวิ่งตัดหน้ารถ เราจึงเลี้ยวรถจนตกข้างทางด้วยความรวดเร็ว



















เฉลย
1. ก
2. ข
3. ค
4. ข
5. ง

วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมอง

สมอง










สมอง เป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย มีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำ การคิด และความรู้สึกต่างๆ สมอง ประกอบด้วยตัวเซลล์ประมาณ 10 พันล้านตัว ถึง 12 พันล้านตัว แต่ละตัวมีเส้นใยที่เรียกว่า แอกซอน (Axon) และเดนไดรต์ (Dendrite) สำหรับให้ กระแสไฟฟ้าเคมี (Electrochemical) แล่นผ่านถึงกัน การที่เราจะคิด หรือจดจำสิ่งต่างๆนั้น เกิดจากการเชื่อมต่อของ กระแสไฟฟ้า ใน สมอง คนที่ฉลาดที่สุดก็คือ คนที่สามารถใช้ กำลังไฟฟ้า ได้เต็มที่โครงสร้างของสมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามวิวัฒนาการของสมอง









  • สมอง ส่วนแรก อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่ามาจาก สัตว์เลื้อยคลาน หรือ สมอง สัตว์ชั้นต่ำ
    มีหน้าที่ ขั้นพื้นฐาน ที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับ การเต้นของหัวใจ การหายใจ ทําหน้าที่ เกี่ยวกับ ประสาทสัมผัส และสั่งงานให้ กล้ามเนื้อ มีการเคลื่อนไหว สมอง ส่วนนี้ยังรับ และเก็บข้อมูล เกี่ยวกับ การเรียนรู้ จาก สมอง หรือ ระบบประสาท ส่วนถัดไป และทําให้เกิดเป็น ระบบตอบโต้อัตโนมัติ ขึ้นทําให้เรามี ปฏิกิริยาอย่างง่ายๆ ปราศจาก อารมณ์ ปราศจาก เหตุผล









  • สมอง ส่วนที่สองเรียกว่า ลิมบิกเบรน (Limbic brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) คือ สมอง ของ สัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนม สมัยเก่า ก็คือ สมอง ส่วน ฮิปโปแคมปัส เทมโพราลโลบ และบางส่วนของ ฟรอนทอลโลบ
    ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวกับ ความจำ การเรียนรู้ พฤติกรรม ความสุข อารมณ์ขั้นพื้นฐาน ความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธ หรือ มีความสุข เศร้า หรือ สนุกสนาน รัก หรือเกลียด สมอง ส่วนลิมบิก จะทําให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้น และสามารถเรียนรู้โลกได้ กว้างขึ้น เป็นสมอง ส่วนที่สลับซับซ้อน มากขึ้น









  • สมองส่วนที่สามเรียกว่า นิวแมมมาเลียนเบรน (New Mammalian brain) หรือสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ คือสมองใหญ่ ทั้งหมด
    ทำหน้าที่เกี่ยวกับ ความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้ สติสัมปชัญญะ และรายละเอียดที่สลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่ กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้เป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับ ความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคํานวณ ความรู้สึก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หา เป็นสมองส่วนที่ทำให้มนษุย์รู้จูกคิด หาหนทางเอาชนะธรรมชาติ หรือควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้






โครงสร้างสมอง 3 ส่วนที่อยู่ในกะโหลกศีรษะของเรา ก็คือระบบประสาทสำคัญที่ได้วิวัฒนาการมาจากยุคดึกดำบรรพ์จนถึงปัจจุบัน เป็นสิ่ง ที่ได้รับ มาจากบรรพบุรุษ และเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถประสบความสำเร็จในชีวิต สมองเรา ยังมีความสามารถ ที่ยังไม่ได้พัฒนา หรือยังมีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้อีกมาก ประสบการณ์ หรือการกระทำของเรารวมถึงความรู้สึก นึกคิด พฤติกรรม กิจกรรม ทั้งหลาย การหลับ การตื่น ความฝัน ล้วนขึ้นอยู่กับสมองทั้ง 3 ส่วนนี้ทั้งสิ้น ระบบสมอง 3 ส่วนนี้แสดงให้เห็นว่า ธรรมชาติสามารถ สร้าง โครงสร้างใหม่ และโครงสร้างที่สลับซับซ้อนขึ้นบนพื้นฐานของ โครงสร้างเก่า ๆ ซึ่งเปรียบเสมือนเซลล์ง่าย ๆ ที่ได้ผสมผสานตัวเองเข้าไป ในสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ เป็นการเปลี่ยน หรือวิวัฒนาการจากสัตว์เซลล์เดียวเป็นสัตว์หลายเซลล์







การทำงานของสมอง




การทำงานของสมอง




1.ประสาทรับความรู้สึก เส้นประสาทต่าง ๆ ที่นำความรู้สึกเหล่านี้จะมีขนาดแตกต่างกันด้วย ความรู้สึก สัมผัสเบา ๆ จะนำโดยเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่มีไขมันห่อหุ้มมาก ในขณะที่ความรู้สึกเจ็บปวดนำโดย เส้นประสาทขนาดเล็ก ที่มีไขมันห่อหุ้มน้อย หรือไม่มีเลย ผิวหนังของคนเราจะมีประสาทรับความรู้สึกต่าง ๆ และนำส่งต่อไปยังเส้นประสาทผ่าน ไขสันหลัง ขึ้นไปยังก้านสมอง และขึ้นไปถึงสมองส่วนใหม่ หรือนีโอคอร์เท็กซ์ ส่วนที่เรียกว่า พารายทอลโลบ สมองข้างซ้ายจะรับความรู้สึก จากร่างกาย และใบหน้าทางซีกขวา ขณะที่สมองข้างขวาจะรับความรู้สึกจากร่างกาย และใบหน้าทางซีกซ้าย ในสมองคนเราจะมีแผนที่ว่า ส่วนใดของสมองจะรับความรู้สึกจากส่วนใดของร่างกาย


เส้นประสาทของสมอง


























2.การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การควบคุมการทำงานพื้นฐานของการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ในเด็กแรกคลอด จะเป็นไปอย่างไม่มีวัตถุประสงค์ เด็กอายุ 1-2 เดือนจะไม่ ไขว่คว้าของเล่น แต่ก็มีการเคลื่อนไหวของแขน ขา มือ และ เท้า ซึ่งสมองส่วนเซนซอรี่มอเตอร์คอร์เท็กซ์ สมองส่วนทาลามัส และ สมองส่วนเบซาลแกงเกลีย ที่มีเส้นใยประสาท และไขมันค่อนข้างครบถ้วน เมื่อแรกคลอดจะทำหน้าที่พื้นฐานนี้

3.การมองเห็น สมองจะต้องอาศัยการมองเห็นภาพ ซึ่งจะนำไปสู่สมอง ด้วยเส้นประสาทตา และหลังจากนั้นสมองส่วนของการมองเห็น หรือ ออกซิปิทอลโลบ ซึ่งอยู่ทางด้านหลังของสมอง จะพัฒนาโครงสร้าง ที่จะตอบรับภาพ และแปลภาพที่เห็นออกมาให้มีความหมาย โดยอาศัย นีโอคอร์เท็กซ์ และสมองส่วนหน้า การมองเห็นเป็นการทำงานที่ละเอียดอ่อน จะเห็นว่าประสาทตามีเส้นใยประสาท 1 ล้านเส้นใย เทียบกับประสาทหู ซึ่งมีเส้นใยประสาทเพียง 50,000 เส้นใยเท่านั้น

4.การได้ยิน สมองส่วนลิมบิกเบรน หรือสมองส่วนอารมณ์ สามารถจะตอบสนองต่อคลื่นเสียงต่าง ๆ ที่เข้ามาถึงตัวเรา ด้วยการอาศัยความช่วยเหลือ จากนีโอคอร์เท็กซ์ หรือสมองส่วนใหม่แปลคลื่นเสียงออกมาโดยตรง
สมองส่วนลิมบิกเบรน หรือสมองส่วนอารมณ์กับสมองส่วนอาร์เบรน มีความเกี่ยวโยงกันอย่างใกล้ชิด สมองส่วนลิมบิกเบรน จะรับรายงาน จากสมองส่วนอาร์เบรน ขณะเดียวกันก็ส่งข้อมูลไปที่นีโอคอร์เท็กซ์ด้วย ผลลัพท์ของการติดต่อระหว่างสมองส่วนต่าง ๆ นี้จะส่งไปที่ประสาท รับการได้ยิน และการทรงตัวที่หูส่วนใน ซึ่งทำให้บอกได้ว่าเสียงต่าง ๆ ที่ได้ยินมาจากที่ใด การได้ยินนี้เปรียบได้กับ การเห็น สายตาเรา จะส่งรูปภาพเข้าไปในสมอง แล้วสมองก็จะใส่ข้อมูลลงไปตามช่องว่าง และส่งข้อมูลกลับออกมา ทำให้เรามองเห็นภาพครบบริบูรณ์


5.สมองกับความฉลาด เชื่อกันว่า สมองส่วนใหม่ ที่เรียกว่า นีโอคอร์เท็กซ์ มีหน้าที่เกี่ยวกับ ความฉลาด และความคิด ความคิดริเริ่ม หรือความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ หรือศิลปินแบบนี้ เปรียบได้กับเด็กปัญญาอ่อนแต่มีความสามารถพิเศษ คือ อยู่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์ หรือคำตอบก็ออกมาเอง โดยมีความแตกต่างอยู่ที่ว่า ความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์จะดำเนินต่อไปได้ ในขณะที่เด็กปัญญาอ่อนแต่มีความสามารถพิเศษ เพียงแค่รู้คำตอบแต่ไม่สามารถจะทำอะไรได้มากไปกว่านั้น


6.ความจำ เซลล์ประสาท 1 เซลล์ สามารถที่จะมีความจำเฉพาะเจาะจงได้ เซลล์ประสาทนี้เป็นเซลล์ที่มีเป้าหมายเฉพาะเจาะจง หรือ ทาร์เก็ตเซลล์ (target cell) แล้วเซลล์ประสาทนี้เองเป็นจุดรวมของกลุ่มของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์รวมกัน ทำงาน เพื่อที่จะสร้างความจำขึ้นมาอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งทาร์เก็ต เซลล์ และกลุ่มของเซลล์ประสาทนี้ อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายที่ใหญ่ต่อไปอีก และแต่ละเครือข่ายก็จะมีปฏิกิริยาซึ่งกัน และกัน กลุ่มของเซลล์ประสาทกลุ่มนี้จะติดต่อกับเซลล์ประสาทกลุ่มอื่น มีเส้นใยประสาทที่ติดต่อถึงกันอย่างสลับซับซ้อน ซึ่งผลลัพท์ของการเชื่อมโยง ของเซลล์ประสาทหลาย ๆ เซลล์นี้เองทำให้มีประจุไฟฟ้าสูงสุดในกลุ่มของเซลล์ประสาท (Peak Of Activity In Population Of Neuron) และผลก็คือ เกิดความจำ


7.การเรียนรู้ภาษา ภาษาเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ กล้ามเนื้อของเรามีการเคลื่อนไหวตอบสนองต่อเสียงแบบอัตโนมัติ ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งแต่เป็นทารก ในครรภ์อายุประมาณ 7 เดือน และหลังคลอดสมองก็พร้อมที่จะทำงานได้ทันที เพราะเส้นใยประสาท และระบบประสาท ทั้งหลายมีพร้อมอยู่แล้ว ต้องการเพียงแค่สิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ก็จะเกิดการเรียนรู้ภาษาขึ้น ต่อคำถามว่า เด็กเรียนรู้ที่จะพูด ได้อย่างไร ก็ต้องรู้ว่าสมองเกี่ยวกับ การพูดทำงานอย่างไร การพูดของคนเราเกิดจากการทำงาน ของกลุ่มเซลล์ประสาท ที่ติดต่อถึงกัน เพื่อสร้างคำพูดขึ้นมา ซึ่งแต่ละคำอาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับคำอื่น ๆ ด้วย เพราะฉะนั้นในกลุ่มเซลล์ประสาทที่สร้างคำพูดนี้ ยังแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ เพื่อที่จะใช้เรียกคำแต่ละคำ สิ่งของแต่ละสิ่ง


8.การสร้างบุคลิกภาพ ทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับ บุคลิกภาพอาศัยความสัมพันธ์ระหว่าง อารมณ์ และความสามารถในการรู้ตัวเอง (Self Awareness) ถือเป็นความฉลาด อย่างหนึ่ง เพราะการที่เราจะรู้ตัวเอง หรือรู้พฤติกรรมของเราเองได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเรามองตัวเราอย่างไร เมื่อเทียบกับสิ่งแวดล้อมในโลกนี้ และเราจะควบคุมพฤติกรรมของเราได้อย่างไร ซึ่งความสามารถที่จะจัดการ และควบคุมชีวิตเรานี้ เป็นความสามารถที่เรียกว่า ประสิทธิภาพส่วนบุคคล (Self Efficacy) คนที่มีประสิทธิภาพส่วนบุคคลสูง จะมีความมั่นใจในการมี พฤติกรรมโต้ตอบที่ถูกต้อง แต่คนที่มีประสิทธิภาพในตัวเองต่ำจะมีความกระวนกระวาย มีความกังวลเมื่อจะต้องมีการโต้ตอบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะอยู่นอกเหนือการควบคุมของคนคนนั้น ความรู้ตัว และประสิทธิภาพส่วนตัวนี้เองจะรวมกันเป็นบุคลิกภาพขึ้น


9.ระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบด้วย ประสาท 2 ส่วน ที่เรียกว่า ซิมพาเทติก (Sympathetic) และ พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุม การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อหัวใจ และต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย ควบคุมการทำงาน ของเส้นเลือด ความดันโลหิต การเต้นของหัวใจ ม่านตา การไหลของ เหงื่อ น้ำตา และน้ำลาย การเคลื่อนไหวของลำไส้ การควบคุมกระเพาะปัสสาวะ และความผิดปกติทางเพศ ระบบประสาทอัตโนมัติ ทำงานโดยผ่านการหลั่งสารเคมีที่สำคัญ คือ อะเซทิลโคลีน (Acetylcholine) และ นอเอพิเนฟริน (Norepinephrine)





ประสาทส่วนรับความรู้สึกต่างๆของสมอง